วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วีธีการปลูก

วิธีปลูก
การปลูกยางพาราจะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นพันธุ์ยางซึ่งในที่นี้จะกล่าว
เฉพาะการปลูกด้วยต้นตอตาและต้นยางชำถุงเท่านั้น เนื่องจากการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามาก จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมทำกันในปัจจุบัน 
 
1.การปลูกด้วยต้นตอตา 
นำดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็ม
ด้วยดินล่างจากนั้นใช้เหล็กหรือไม้แหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อยปักนำเป็นรูตรงกลางหลุมให้ลึกเท่ากับความยาวของรากแก้วแล้วนำต้นตอปักลงไป กดดินให้แน่นพูนดินบริเวณโคนต้นเล็กน้อยอย่าให้กลบแผ่นตาพยายามให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นอยู่ระดับปากหลุมพอดี 
2. การปลูกด้วยต้นยางชำถุง 
2.1 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกและภาคใต้ 
นำดินที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุม จากนั้นนำต้นยาง
ชำถุงไปตัดดินที่ก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอแล้ววางลงไปในหลุม โดยให้ดินปากถุงหรือรอยต่อระหว่างลำต้นและรากอยู่ในระดับพื้นดินปากหลุมพอดีถ้าต่ำเกินไปให้ใส่ดินรองก้นหลุมเพิ่ม หรือถ้าสูงเกินไปให้เอาดินในหลุมออก จัดต้นยางให้ตรงกับแนวต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกันกลบดินล่างที่เหลือลงไปจนเกือบเต็มหลุม อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆดึงถุงพลาสติกที่กรีดไว้แล้วออกอัดดินข้างถุงให้แน่นแล้วกลบดินเพิ่มจนเต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง พูนโคนเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขัง จากนั้นปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางไว้เพื่อป้องกันลมโยก 
 
2.2 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
ให้ปลูกแบบลึก โดยใช้มีดคมๆ ตัดดินก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอจากนั้นวางยาง
ชำถุงลงในหลุมปลูกให้ถุงแนบชิดกับดินเดิมก้นหลุมจัดต้นยาง ให้ตรงแนวกับต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตแล้วลงในหลุมประมาณครึ่งหนึ่งของถุง อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆ ดังถุงพลาสติกที่กรีดไว้ออก อัดดินที่ถมข้างถุงให้แน่นแล้วกลบดินเพิ่มให้เต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง หลังจากปลูกต้นยางชำถุงเสร็จแล้ว ควรปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางเพื่อป้องกันลมโยกและหาเศษวัชพืชคลุมดินบริเวณโคนต้นไว้ด้วย
 
การปลูกซ่อม 
หลังจากปลูกแล้วอาจมีต้นยางบางต้นตายไปเนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ถูกโรคและ
แมลงทำลายหรือต้นที่ปลูกไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องปลูกซ่อม ซึ่งควรทำให้เสร็จภายในช่วงฤดูฝน ต้นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกซ่อม คือ ยางชำถุง เพราะจำทำให้ต้นยางที่ปลูกในแปลงมีขนาดไล่เลี่ยกัน ส่วนต้นยางที่มีอายุเกิน 1 ปี ไปแล้วไม่ควรปลูกซ่อม เพราะจะถูกบังร่มไม่สามารถเจริญเติบโตทันต้นอื่นได้

ระยะปลูกและการวางแนว

ระยะปลูกและการวางแนวปลูก

        การกำหนดระยะปลูกยางมีผลต่อการเจริญเติบโต, การควบคุมวัชพืชโดยร่มเงาของต้นยาง, ความสะดวกในการจัดการ
        ภายในสวนยาง และส่งผลต่อผลผลิตน้ำยางโดยตรง โดยทั่ว ๆ ไป ต้นยางต้องการพื้นที่ประมาณ         20 ตารางเมตร/ต้น ดังนั้น ระยะปลูกที่เหมาะสม หากเป็นที่ราบ ในเขตปลูกยางเดิม ควรเป็น               2.5 x 8 เมตร (จะได้ต้นยางไร่ละ 80 ต้น) หรือ 3 x 7 เมตร (จะได้ต้นยางไร่ละ 76 ต้น) ระยะปลูก         ทั้ง 2 แบบ เหมาะสำหรับสวนยางที่ต้องการปลูกพืชแซมยางด้วย สำหรับในเขตปลูกยางใหม่ ระยะ        ปลูกควรเป็น 2.5 x 7 เมตร (จะได้ต้นยางไร่ละ 91 ต้น) หรือ 3 x 7 เมตร (จะได้ต้นยางไร่ละ 76          ต้น) แต่ถ้าเป็นพื้นที่ลาดเท ควรปลูกระยะ 3 x 8 เมตร (จะได้ต้นยางไร่ละ 67 ต้น) ระยะในที่ลาดเท        ที่กล่าวถึง เป็นระยะในแนวระดับ ไม่ใช่แนวเฉียงขึ้นหรือเฉียงลง 
การกำหนดแถวหลัก

           สิ่งแรกที่ต้องทำในการวางแนวหรือแถวเพื่อปลูกยางพารา ก็คือการกำหนดแถวแรกหรือแถวหลัก หลักสำคัญที่ต้องพิจารณาคือถ้าสวนยางอยู่ในที่ราบแถวหลักควรอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ตก(เพื่อให้การรับแสงมีประสิทธิภาพ) หากพื้นที่ลาดเทเล็กน้อยก็ควรวางแนวให้ขวางทางน้ำไหลเพื่อลดการกัดเซาะและพัดพาปุ๋ยและหน้าดิน แถวหลักควรห่างจากเขตแดนของที่ดิน 1.5 เมตร หากอยู่ติดกับสวนยางใหญ่ก็ต้องขุดคูกว้างประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลึก 50 เซ็นติเมตร เพื่อป้องกันการแย่งอาหารหรือลดการแพร่ระบาดของโรครากจากนั้นจึงทำการวางแนวปลูกพร้อมปักไม้ชะมบตามระยะที่กำหนด หากสวนยางอยู่บนพื้นที่ลาดเทตั้งแต่ 15 องศา ขึ้นไป ต้องวางแนวปลูกตามแนวระดับ และต้องทำขั้นบันไดกว้าง 2 เมตร ด้วย
การขุดหลุม

การขุดหลุมควรทำในขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอ(ที่จะทำการขุด) โดย
  • ต้องขุดชิดด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบ ไม้ต้องถอดไม้ชะมบออก ขนาดหลุมควรมีขนาดประมาณ ก้วางxยาวxสูง 50x50x50 เซ็นติเมตร โดยแยกดินชั้นบนและดินชั้นล่างไว้คนละด้านของหลุม
  • ตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน 
  • ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0, 25% Total P2O5) ในอัตรา 170 กรัม/หลุม โดยใส่เป็นจุด หรือเป็นแถบ(ไม่ต้องคลุกกับดิน)
  • ทำการย่อยดินชั้นบนที่ขุดแยกไว้แล้วกลบลงหลุม แล้วคลุกเคล้าปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 3-5 กิโลกรัม/หลุม กับดินชั้นล่างแล้วกลบจนเต็มหลุม (การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกยางพาราใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรใส่ประมาณ 5 กิโลกรัม/หลุม และในภาคอื่น ๆ หากเป็นดินที่ไม่ค่อยมีอินทรีย์วัตถุ ก็ควรใส่ประมาณ 3 กิโลกรัม/หลุม)
  • สำหรับการปลูกยางชำถุง การกลบหลุมอาจกลบก่อนหรืออาจทำพร้อม ๆ กับการปลูกก็ได้เช่นกัน-การกลบก่อนทำให้โอกาสที่ต้นยางรอดตายมีมากขึ้น เพียงแต่ต้องใช้เวลาขุดนิดหนึ่งตอนปลูก

โครงงานการทำสวนยางพารา

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการสำรวจอาชีพในจังหวัดระยอง โดยกลุ่มของข้าพเจ้า ได้สำรวจเกี่ยวกับการปลูกป่ายาง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและเน้นเทคนิคการสนทนากลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลทีจําเป็นและนำมาวิเคาระห์ กลุ่มของข้าพเจ้าได้ไปสำรวจที่ หมู่บ้านเขาชะเมา ต.แกลง อ.เขาชะเมา จ. ระยอง โดยมีพื้นที่ประมาณ 20ไร่โดยมีผู้ที่เข้าร่วมโครงการจํานวน 11 คน
การปลูกยางพาราถือว่าเป็นอาชีพหลักของจังหวัดระยอง อาจมีการปลูกพืชอื่นเสริมด้วยเช่น การทำสวนผลไม้ ร่วมกับยางพารา เพื่อให้ได้ลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นและจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอต้นยางพาราโต ในระหว่างที่รออายุของยางพาราเราอาจมีผลผลิตอื่นมารองรับไว้ด้วย

วัตุประสงค์
1. เพื่อศึกษาวิธีการปลูกป่ายางพาราให้เป็นไปตามระเบียบ ของต้องการของผู้ผลิต
2. เพื่อทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคในการค้ายางพารา
3. เพื่อแก้ไขปัญหา และข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับสวนยางพารา
4. เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจของสังคมเกษตรกรรมในเขตพื้นที่ของจังหวัดระยอง


รายชื่อสมาชิก

1.นายวรพงษ์ ใจผดุงวงศ์ เลขที่ 1



2. นาย ปภาวิน ชาติวงศ์ เลขที่ 2



3. นางสาว เจนจิรา อนันทวาล เลขที่ 14



4. นางสาวพิชชากร ศรีกุล เลขที่ 16



5. นางสาว จีรณา อุษณีสวัสดิ์ชัย เลขที่ 17



6. นางสาว ณัชชา บุญพิทักษ์กิจ เลขที่ 20



7. นาย ธนาพล รักระเบียบ เลขที่ 32



8. นางสาว สุภารัตน์ อัมนักมณี เลขที่ 33



9. นางสาว กิ่งกาญจน์ ไก่แก้ว เลขที่ 34



10. นางสาว อัชราพร พาพุทธ เลขที่ 41



11.นางสาว ภัศรา ลาพิมพ์ เลขที่ี 42